Unicorn Start-up

 
คุณโอฬาร วีระนนท์

คุณโอฬาร วีระนนท์

CEO & Co-Founder, DURIAN corp.

Associate Advisor, BizzUp

ปัจจุบัน มี start-up มากมายเกิดขึ้นทั้งใน และต่างประเทศ หนึ่งใน engine หลัก ๆ ที่ผลักดันให้ start-up ประสบความสำเร็จได้ก็คือตัว Investor…………………….

……………คำถามสำคัญก็คือ นักลงทุนทั้งหลายมองหาอะไรใน start-up ใหม่ ๆ กันบ้าง? BizzUp ได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในวงการอย่าง คุณโอฬาร วีระนนท์ และสรุป key points ที่น่าสนใจมาร่วมแบ่งปันกับทุกท่าน ดังนี้

Screen Shot 2020-06-16 at 2.17.27 PM.png

เนื่องจากปัจจุบันหลายๆอุตสาหกรรมมีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจรวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นักลงทุนทั้งหลายจึงสนใจ start-up เพื่อสร้าง new S-curve มองหาธุรกิจที่สามารถมีรูปแบบการเติบโตได้ในรูปแบบใหม่ ๆ มากกว่าแบบเดิม เพราะธุรกิจประเภทนี้จะมี potential ในการพัฒนาไอเดีย ให้เป็นรูปเป็นร่างและเกิดขึ้นจริงสูงกว่าธุรกิจรูปแบบอื่น ๆ ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องเป็นธุรกิจที่สามารถแก้ pain point(s) ที่เป็นปัญหาของสังคมในภาพรวม (Common problem) ของโลกใบนี้ ยิ่งแก้ได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งมี scalability หรือความสามารถในการเติบโต และขยายธรุกิจมากเท่านั้น

ความสามารถในการ scale ของ start-up ถือเป็นหนึ่งสิ่งที่สำคัญและควรจะเน้นย้ำเพื่อที่จะพัฒนาไปเป็น unicorn ได้ในอนาคต โดยมี 5 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อความสำเร็จมากที่สุดดังนี้

Screen Shot 2020-06-16 at 2.22.49 PM.png

1. Timing หรือเวลาที่เหมาะสม

ถือเป็นข้อสำคัญสุดในการพัฒนาไปเป็น unicorn การทำโครงการใด ๆ ก็ตาม ต้องเลือกเปิดตัวให้ถูกจังหวะกับพฤติกรรมของผู้บริโภค และความต้องการหรือ demand ของตลาด เพราะถึงแม้ของของเราจะดีจริง แต่ถ้าปล่อยออกมาผิดเวลาก็จะเป็นเหมือนกรณีตัวอย่างของ Youtube ที่เคยมีการทำ function streaming มาก่อนที่ตลาดจะพร้อมตอนนั้น internet ยังช้าและไม่ทั่วถึง ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จเหมือน streaming service อื่น ๆ ที่เปิดตัวมาทีหลังแต่เป็นเวลาที่ปัจจัยต่าง ๆ ในตลาดพร้อมมากกว่า

Screen Shot 2020-06-16 at 2.28.36 PM.png

2. Team (Founder team)

ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากเนื่องจากปัจจัยความล้มเหลวของ start-up โดยส่วนมากคือ Founder หรือผู้ก่อตั้งระบุให้ชัดกว่านั้นก็คือ CEO เพราะเป็นคนเลือกทีมร่วมก่อตั้งมาทำงาน ดังนั้นในแต่ละ stage ของ start-up ต้องการทีมที่ต่างกัน เช่น ในช่วงแรกต้องการทีมกล้าคิดริเริ่ม กล้าทำกล้าลุย แต่พอเข้าถึง stage ระดมทุน (scale stage)  ตรงนี้ต้องเน้นคนที่มีความรู้ทางด้านการเงิน ด้วยเหตุนี้ start-up จึงอาจต้องการผู้ก่อตั้งและทีมทำงานมากกว่า 1 ทีม ซึ่งหน้าที่ของผู้ก่อตั้งคนแรกคือการหาทีมทำงานที่เหมาะสมกับแต่ละ stage ของ start-up นั้นๆ

Screen Shot 2020-06-16 at 2.33.52 PM.png

3. Concept and Idea

โดยส่วนมาก ไอเดียริเริ่มมักจะเป็นแนวทางที่ดีเสมอ แต่ไอเดียที่ทำให้กลายเป็น unicorn ได้ อาจจะไม่ใช่ไอเดียเริ่มต้น เพราะเมื่อพัฒนาไอเดียไปเรื่อย ๆ อาจจะต้องมีการคาดการณ์ และปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จนเรารู้ว่าแนวทางไหนจะดีที่สุด ทางทีมเองก็ต้องมีความกล้าในการทิ้งไอเดียเดิมแล้วพัฒนาต่อยอดเป็นไอเดียใหม่

Screen Shot 2020-06-16 at 2.38.05 PM.png

4. Business Model หรือ แผนธุรกิจ

แปลง่าย ๆ ว่า “วิธีการทำเงิน” การจะเป็น unicorn ได้นั้น ต้อง know how to make money เพราะถึงแม้จะมี user เข้ามาใช้เป็นจำนวนมาก หรือเป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่สุดท้ายถ้าหาทางสร้างกำไรที่ยั่งยืนไม่ได้ก็ไม่สามารถเติบโตไปเป็น unicorn ในระยะยาวได้ และที่สำคัญ ถ้าหากมีการวางแผนเรื่อง revenue model ที่ดี start-up นั้นอาจจะโตไปถึงระดับ Decacorn ได้อีกด้วย

Screen Shot 2020-06-16 at 2.42.28 PM.png

5. Funding หรือ เงินทุน 

แน่นอนว่า start-up ในช่วงเริ่มแรกจะขาดเงินลงทุน ซึ่งถ้าบริหารเงินลงทุนได้ไม่ดีพอ รายจ่ายต่าง ๆ ไม่ match กับการหาเงินลงทุนก้อนใหม่มา support ก็จะไม่สามารถพยุงธุรกิจต่อไปได้ ดังนั้นต้องดู cashflow ในการทำงานให้ดี ต้องวางแผนว่าเงินเท่าที่มีอยู่สามารถใช้ได้อีกกี่เดือน ถ้าจะให้ดีที่สุดควรจะพยุงค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 6 เดือนก่อนเงินจะหมด และต้องหาเงินทุนก้อนใหม่เผื่อไว้ล่วงหน้าเพื่อไม่ให้กระทบการทำงาน

Screen Shot 2020-06-16 at 2.45.44 PM.png

6. Government Support หรือ การสนับสนุนจากภาครัฐ 

Uincorn ที่ยิ่งใหญ่ จะเติบโตมาขนาดนี้ไม่ได้เลยถ้าไม่มีการ support จากภาครัฐอยู่เบื้องหลัง บริษัทใหญ่ ๆ ในประเทศจีนที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกอย่าง Baidu, Alibaba, Tencent, JD.com ซึ่งเป็น  4 unicorns ของประเทศจีนเติบโตไปเป็น unicornได้เพราะทางรัฐบาลจีนให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่  ประเทศไทยก็เช่นกัน ไม่ควรที่จะให้เป็นแค่แรงผลักดันจากภาคเอกชนอย่างเดียว ต้องร่วมกันสนับสนุนทั้งภาคเอกชนภาครัฐรวมถึงตัว start-up เอง

Screen Shot 2020-06-16 at 2.48.23 PM.png

start-up ที่จะมาแรงในอนาคต??

สืบเนื่องจากการระบาดของไวรัส Covid-19 หลาย ๆ ธุรกิจประสบวิกฤตครั้งใหญ่ และหลาย ๆ เจ้าอาจจะต้องปิดตัวไป อุตสาหกรรมที่จะเติบโต และมาแรงมากกว่าเพื่อนก็คือ E-commerce และ Online Platform ต่าง ๆ เนื่องจากทุกคนถูกบังคับให้กักตัวอยู่บ้าน ซึ่งโดยธรรมชาติของมนุษย์ ถ้าถูกปรับให้ทำอะไรก็ตามติดต่อกันเกิน 21 วันนั้นจะกลายเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ habit หรือ routine ต่าง ๆ ทุกคนจะเริ่มชินกับการทำงาน และกิจกรรมบางอย่างโดยไม่ต้องไปสถานที่จริง ๆ เหมือนเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้หันมาหาระบบดิจิตอลโดยอัตโนมัติ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ Covid ไปกระตุ้นให้ทุกอย่างต้อง go online เพราะฉะนั้นช่วงเวลานี้จึงเป็นโอกาสของทุกอย่างที่เป็น platform online รวมถึง platform ที่สนับสนุนในเรื่องของช่องทาง online learning และ Omni channel ที่ช่วยเชื่อม offline และ online เข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถเติบโตไปได้อย่างต่อเนื่อง เพราะในอนาคตอาจจะมีโรคใหม่เกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ เหตุการแบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ได้กลายเป็น new normal ไปแล้ว หลังจากนี้ทุกหน่วยงานในทุกอุตสาหกรรม จะลงทุนในเรื่องของระบบ online เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป

Opinion sharing by

คุณโอฬาร วีระนนท์

CEO & Co-Founder, DURIAN corp. https://duriancorp.com/

นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย

Associate Advisor, BizzUp


Previous
Previous

Unicorn Start-up (cont)

Next
Next

อะไรที่มาก่อน Marketing Mix ในนิยามการทำงานยุคดิจิทัล