Unicorn Start-up (cont)

 
คุณโอฬาร วีระนนท์

คุณโอฬาร วีระนนท์

CEO & Co-Founder, DURIAN corp.

Associate Advisor, BizzUp

สืบเนื่องจาก บทความ Unicorn start-up ในวันพฤหัสที่ผ่านมา ครั้งนี้ทางทีมงาน BizzUp ได้มีการสอบถาม คุณโอฬาร เพิ่มเติม เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจในส่วนของ system และ engine สำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ start-up เติบโตอย่างมั่นคงมากขึ้น

วันนี้เราจะมาเจาะหนึ่งใน 5 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Start-up ประสบความสำเร็จ ซึ่งเราได้มีการกล่าวถึงใน บทความที่แล้ว ซึ่งก็คือการสนับสนุนจากทางภาครัฐนั่นเอง

Screen Shot 2020-06-17 at 12.06.34 PM.png

ภาครัฐสามารถสนับสนุน Startup ไทยอย่างไรได้บ้าง??

วิธีที่เห็นได้ชัด และได้ผลดีที่สุดเลยก็คือการออกนโยบายที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของ start-up รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เกิด Digital Economy โดยทางทีมงานได้มีการรวมรวม และกลั่นกรองจากผู้เชี่ยวชาญในวงการโดยมีข้อสรุปนโยบายต่าง ๆ ภายใต้คอนเซ็ปต์ Digital Entrepreneur 5.0 ที่จะเป็นประโยชน์ต่อเหล่า Start-up ทั้งหลายโดยเน้นการสนับสนุน และเสริมสร้างให้บุคลากรมีความเข้าใจใน start-up ดังนี้

Screen Shot 2020-08-05 at 10.56.44 AM.png

สนับสนุนให้คนที่เข้าใจระบบ และลักษณะการ operate ของ Start-up มาเป็นคนบริหารกองทุน Start-up เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยแท้จริง โดยวิธีการที่จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดก็คือ การสร้างศูนย์ e-Sport, Coding and AI Center. เพื่อสนับสนุน และอำนวยความสะดวกให้เยาวชนรวมถึงประชาชนที่มีความสนใจสามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้ ควบคู่ไปกับการสร้าง และส่งเสริมให้เกิด Co-working space และ Maker Space (รูปแบบเดียวกับ co-working space แต่ต่างตรงที่เน้นในเรื่องของการเพิ่มอุปกรณ์ Hardware ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ workshop เช่น 3D printer, studio equipments ต่าง ๆ) ในทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย เพื่อเป็นสถานที่ส่วนรวมในการทำงานของเยาวชน และคนที่มีไอเดียริเริ่มต่าง ๆ แม้ว่าตอนนี้จะมีสถานที่แบบนี้อยู่เยอะก็จริงแต่ส่วนมากจะกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่เท่านั้น ซึ่งหากภาครัฐให้การสนับสนุน และลงทุนให้มีสถานที่แบบนี้กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศได้ ก็จะเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่เป็นประโยชน์ให้คนที่อยากจะริเริ่มธุรกิจมารวมตัวกันใช้ได้ เหมือนเป็น knowledge base และหากมี workshop กิจกรรมดีๆให้ทำก็จะยิ่งสร้างประโยชน์ต่อยอดได้มากขึ้นไปอีก

Screen Shot 2020-08-06 at 4.27.12 PM.png

ส่งเสริมให้ประเทศไทย ก้าวเข้าสู่ AI Nation โดยประยุกต์เข้ากับภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และการศึกษา เพื่อพัฒนาอุตสหกรรมที่โดดเด่นของแต่ละภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควบคู่ไปกับการพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีส่วนร่วมกับ Digital Economy อย่างเป็นระบบ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการเติบอย่างก้าวกระโดดในศตวรรษที่ 21 โดยไม่ทิ้ง generation ใดไว้ข้างหลัง สนับสนุนพัฒนาคนทุกรุ่นไม่ใช่แค่คนรุ่นใหม่เพียงอย่างเดียว ต้องdevelop คนทุกช่วงวัยให้พร้อมที่จะก้าวเข้าสู่โลกดิจิตัลจริง ๆ

รู้หรือไม่: แท้จริงแล้วอายุเฉลี่ยที่ success ในวงการ start-up คือ 37 ปี ซึ่งหลาย ๆ คนมาจาก background ทางการศึกษารวมถึงสายงานที่ต่างกันไป โดยมาเริ่มฝึก และ accumulate skills ได้ในช่วงหลัง ๆ 

Screen Shot 2020-08-06 at 4.41.12 PM.png

สร้าง และส่งเสริม ให้เกิด e-learning platfrom……….จะเห็นได้ว่าทุกคนเริ่มจะเข้าใจถึงความสำคัญของเรื่องนี้อย่างชัดเจนเมื่อเกิดการระบาดของไวรัส Covid-19 ที่ทำให้ทุกอย่างจะต้องหยุดชะงัก ถูกบังคับให้เปลี่ยนไปเป็นการทำผ่านระบบออนไลน์เพื่อลดการ contact กันของคนจำนวนมากซึ่งอาจนำไปสู่การแพร่ระบาดที่มากขึ้น โดยเน้น e-learning platform ที่เป็น Master Class ในหัวข้อต่าง ๆ ที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมทั่วประเทศ


Screen Shot 2020-08-06 at 4.55.31 PM.png

ส่งเสริมการตั้งกองทุนภายใต้ concept “สร้างได้ ไม่กลัวล้ม” เนื่องจากปัจจุบัน กองทุนต่าง ๆ ที่สนับสนุน start-up ส่วนมาก ถ้าหากทาง start-up ทำไมได้ตามเป้าที่กำหนดไว้ก็จะต้องใช้เงินคืน ทำให้หลาย ๆ คนไม่กล้าที่จะทำ กลัวที่จะล้ม ซึ่ง concept ที่เป็นไปได้คือ การส่งเสริม ต่อยอด สนับสนุนเงินทุน ในการสร้างผู้ประกอบการยุค 5.0 ให้ทุกคนมีความ "กล้าที่จะเริ่มต้น….ไม่กลัวล้ม" รวมถึงผลักดันแนวทางการสร้าง Sandbox ที่เปิดโอกาสให้ทีมได้มีการทดลองระบบ หรือโมเดลธุรกิจก่อน launch จริง ๆ  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สู่การพัฒนาประเทศไทยร่วมกัน และส่งเสริมการตั้งกองทุน “Mentor in Residense” เพื่อสร้างกลุ่มคนที่คอยให้คำปรึกษาเหล่า start-up ทั้งชาวไทย และต่างชาติอย่างจริงจัง โดยมี Criteria เบื้องต้นของผู้ที่จะมาเป็น Mentor คือ ต้องเป็นผู้ที่เคยลงมือกับ start-up จริงมาแล้ว อย่างน้อย 1 ตัว และสามารถระดมทุนให้บริษัทไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท (Valuation) และคนเหล่านี้ควรมีค่าตอบแทนที่เหมาะสม รวมถึงการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ เอกชน และประชาชนอย่างเป็นระบบ ให้เกิด Collaborative Networking ทั้งในเชิงนโยบาย และการปฏิบัติ โดยมีการเร่งความร่วมมือ รวมถึงการวัดผลให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นรูปธรรม ทั้งยังควรมีการสื่อสารออกไปในวงกว้างเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ และเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

Screen Shot 2020-08-06 at 5.00.52 PM.png

Opinion sharing by

คุณโอฬาร วีระนนท์

CEO & Co-Founder, DURIAN corp. https://duriancorp.com/

นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย

Associate Advisor, BizzUp

Previous
Previous

บริหารทีมอย่างไรให้ปัง?!?

Next
Next

Unicorn Start-up